วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

ทำไมคนเราถึงปวดหัว

โดยปกติแล้ว ผมเห็นว่าตัวเองเป็นคนแข็งแรง ไม่ค่อยเจ็บไข้ได้ป่วยซักเท่า(แทบไม่มีเลย)
แต่เมื่อไม่นานมานี้ เริ่มมีอาการปวดหัวเข้ามากวนใจอยู่บ่อย เลยเริ่มสงสัย ว่าทำไมคนเราถึงต้องปวดหัว
เลยเข้ามาหาข้อมูลใน google  ยังไม่ได้ที่ตรงใจตัวเองซักเท่า  แต่ได้ข้อมูลน่าสนใจเลยเอามาฝากครับ เป็นเรื่องการปวดหัวจากการนอนที่ผิดเวลา
การนอนที่ผิดเวลานั้น มีผลต่อการทำงานของสมองและร่างกาย กล่าวคือ ถ้าเราเคยออกวิ่งเวลานั้น หรือ เคยนั่งดูทีวี เวลานั้น อยู่เป็นประจำ เมื่อถึงช่วงเวลานั้น ร่างกายและสมองจะเตรียมตัวของมันโดยอัตโนมัติสำหรับกิจกรรมนั้นๆ เมื่อเราไปนอนก็เหมือนเราทำในสิ่งที่ร่างกายหรือสมองไม่พร้อมจะทำ นั่นคือที่มาของอาการปวดศรีษะ เป็นการแสดงการประท้วงหรือต่อต้านของสมอง ต่อสิ่งที่คุณได้ทำ นั่นคือการนอน

หวังว่าคำตอบนี้คงพออธิบายบางอย่างได้ นะครับ (จากคุณ Rich_Tawee )

ว่ากันว่า..เป็นช่วงที่กลางวันกับกลางคืนมาบรรจบกัน เป็นช่วงที่มนุษย์มีจิตอ่อนที่สุด..ผู้เฒ่าผู้แก่จะไม่ให้นอนหลับระหว่าง ช่วงนี้ หรือหลับแล้วก็ต้องปลุกให้ตื่นก่อน.ว่าจะอั้น. (จากคุณ komet)

คิดว่าร่างกายคนเรา เหมือนมีนาฬิกาชีวิต ถ้าเราทำบางอย่างที่ไม่สัมพันธ์กับความเคยชินของร่างกาย ร่างกายคงจะไม่สบาย และมีปฏิกิริยาบางอย่างแสดงออกมาค่ะ

เจอบทความนี้น่าสนใจ ลองอ่านดูนะคะ

นาฬิกาชีวิต (BIOLOGICAL CLOCK)

การแพทย์ตะวันออกถือว่า กลางวันและกลางคืนมีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก โดยมองลึกลงไปอีกว่า ช่วงเวลา 24 ชั่วโมงในหนึ่งวันนั้น ภายในร่างกายของมนุษย์ยังมีการไหลเวียนของพลังชีวิตที่ผ่านอวัยวะภายในของ ร่างกายซึ่งประกอบด้วย อวัยวะตันและอวัยวะกลวง

อวัยวะตัน หมายถึง หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต

อวัยวะกลวง หมายถึง กระเพาะอาหาร ถงุ นำ้ ดี ลำไสใ้ หญ่ ลำไส้เ้ ล็กกระเพาะปัสสาวะ ระบบความร้อนของร่างกาย (ชานเจียว)

การไหลเวียนของพลังชีวิต (ลมปราณ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เรียกว่า “นาฬิกาชีวิต”

ช่วงเวลา ระบบที่เกี่ยวข้อง ข้อควรปฏิบัติ

01.00-03.00 น. ตับ นอนหลับพักผ่อนให้หลับสนิท

03.00-05.00 น. ปอด ตื่นนอน สูดอากาศบริสุทธิ์

05.00-07.00 น. ลำไส้ใหญ่ ขับถ่ายอุจจาระ

07.00-09.00 น. กระเพาะอาหาร กินอาหารเช้า

09.00-11.00 น. ม้าม พูดน้อย กินน้อย ไม่นอนหลับ

11.00-13.00 น. หัวใจ หลีกเลี่ยงความเครียดทั้งปวง

13.00-15.00 น. ลำไส้เล็ก งดกินอาหารทุกประเภท

15.00-17.00 น. กระเพาะปัสสาวะ ทำให้เหงื่อออก (ออกกำลังกายหรืออบตัว)

17.00-19.00 น. ไต ทำให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหาวนอน

19.00-21.00 น. เยื่อหุ้มหัวใจ ทำสมาธิหรือสวดมนต์

21.00-23.00 น. ระบบความร้อนของร่างกาย ห้ามอาบน้ำเย็น ห้ามตากลม ทำร่างกายให้อบอุ่น

23.00-01.00 น. ถุงน้ำดี ดื่มน้ำก่อนเข้านอน
ตัวอย่างเช่น การไหลเวียนของเส้นลมปราณปอด จะมีพลังไหลเวียนเริ่มต้นที่เวลา 03.00 น.และสูงสุดในช่วงประมาณ 04.00 น. จากนนั้ จะค่อยๆ ลดลง และออกจากเส้นลมปราณปอดไปยังเส้นลมปราณลำไส้ใหญ่เวลา 05.00 น.
การรักษาโรคของเส้นลมปราณปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดจึง ควรอยู่ระหว่างเวลา 0.00-05.00 น. ได้มีการศึกษาวิจัยพบว่า ผลของการใช้ยาตะวันตก คือ ยาดิติตาลิสในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว (มีการคั่งของน้ำในปอด)

การให้ยาในช่วงเวลา 04.00 น. จะให้ผลออกฤทธิ์ประมาณสี่สิบเท่า ของการให้เวลาอื่น เป็นต้น การเคลื่อนไหวของพลังชีวิตของอวัยวะภายในปีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนและสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกับเวลา (นาฬิกาชีวิต) ร่างกายเราจึงมีกลไกการปรับตัวมีการสร้างสารคัดหลั่งฮอร์โมน การทำงานของระบบต่างๆ ฯลฯ เป็นไปตามสภาธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป

การดำเนินชีวิต และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิต ประจำวัน ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จึงเป็นหลักฐานของการมีสุขภาพที่ดี และมีอายุยืน ปราศจากโรค โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาดังนี้

01.00-03.00 น. เป็นช่วงเวลาของตับ ควรนอนหลับพักผ่อนถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน (meratonine) เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอนจากร่างกายจะหลั่งมีราทินประจำแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดรฟิน (endorphin) ออกมาด้วยจึงไม่ควรกินอาหารเพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว หน้าที่หลักของตับ คือ ขจัดสารพิษในร่างกาย ส่วนหน้าที่รอง คือ

1. ช่วยไตในการดูแลผม ขน เล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน เล็บจะไม่สวย

2. ช่วยกระเพาะย่อยอาหาร ถ้ากินบ่อย ๆ จะทำให้ตับทำงานหนักตับจะหลั่งน้ำย่อยออกมามากจึงไม่ได้ทำหน้าที่หลัก เป็นเหตุให้สารพิษตกค้างในตับ

03.00-05.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอดจึง ควรตื่นนอนลุก ขึ้นเพื่อสูดอากาศที่บริสุทธิ์ และรับแสงแดดในยามเช้า ผู้ที่ตื่นนอนช่วงนี้เป็น ประจำปอดจะดี ผิวดีขึ้นและจะเป็นคนที่มีอำนาจในตัว

05.00-07.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ควรขับถ่ายอุจจาระทำให้เป็นนิสัยทุกเช้า ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธีกดจุดที่ตำแหน่งสองข้างของจมูกถ้ายังไมถ่า่ยให้ดื่ม นํ้าอุ่น 2 แก้ว ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาว โดยใช้น้ำ1 แก้ว + น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ + น้ำมะนาว 4-5 ลูก ทำดื่มจนกว่าจะถ่ายหรือบริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าแล้วก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือท้าวเข่าแขม่วท้องจนเหมือนว่าหน้าท้องไปติดสันหลัง

(ลองอ่านเพิ่มเติมในลิ้งค์ ยังมีรายละเอียดที่น่าสนใจอีกค่ะ)

สนใจหนังสือเชิญที่ http://astore.amazon.com/tuktik-brainfood-20

ที่มา: http://klang.cgd.go.th/rbr/clock.pdf (จากคุณ something)

เวลาโพล้เพล้ ไม่ทราบว่าใช่เวลาผีตากผ้าอ้อม แบบที่ผู้ใหญ่เรียกหรือเปล่านะคะ เคยได้ยินว่าถ้านอนช่วงนั้นเค้าเรียกว่า ตะวันทับตาค่ะ ไม่ควรนอนช่วงนั้น เหตุผลขอเดาว่า อาจจะเป็นการนอนเพียงช่วงสั้นๆ เป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายเวลาเย็นไปสู่เวลาค่ำคืนด้วย ร่างกายอาจปรับตัวไม่ทันค่ะ และถ้านอนช่วงนี้ พอเวลาปกติก็จะนอนไม่หลับ ทำให้เช้าวันใหม่ไม่สดชื่นมั้งคะ (จากคุณ ROSE)

คำว่า นอนตะวันทับตา คือ นอนก่อนช่วงตะวันตกดิน ก็ประมาณ 17.30-18.30 น.

ถ้านอนไปนานๆ จนค่ำ จะทำให้ปวดหัว เรียกว่า ตะวันทับตา คนโบราณบอกกันมา ถ้านอนหลับบ่ายแก่ๆ ต้องปลุกให้ตื่นก่อนตะวันตกดิน “นับว่าหลากหลายเรื่องราว เกี่ยวกับข้อห้ามของคนโบราณที่เรานั้นเคยได้ยินผ่านหูมาบ้าง ซึ่งทุกอย่างนั้นล้วนเกี่ยวข้องกับเรื่องราวในชีวิตประจำวันของเราทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นการกิน การนอนและเรื่องราวอื่นๆอีกมากมาย

วันนี้ ขอกล่าวถึงความเชื่อในเรื่องของการนอนในช่วงหัวค่ำก็แล้วกัน ทำไมถึงห้ามนอนตอนหัวค่ำ และการนอนตอนช่วงหัวค่ำจะส่งผลอะไรกับผู้นอน

ตามความเชื่อของคนโบราณนั้น มีการห้ามนอนตอนหัวค่ำ เพราะกลัวตะวันทับตาเมือนอนแล้วจะไม่อยากตื่นหรือเมื่อตื่นขึ้นมาก็จะรู้สึก สับสนไม่รู้ว่าวันไหนเป็นวันไหน ซึ่งตรงนี้ผู้เขียนก็ได้ประสบกับตัวเองมาเช่นกัน คือได้นอนหลับในตอนบ่าย แล้วตื่นขึ้นมาในช่วงหัวค่ำ แต่ลืมตาอย่างไรก็ลืมไม่ขึ้นซึ่งก็ตรงกับคำที่ว่าตะวันทับตานั่นเอง

เมื่อมองในอีกแง่มุมหนึ่งการห้ามนอนในตอนหัวค่ำก็เพื่อไม่ให้คนนอนตอน โพล้เพล้ เดี๋ยวกลางคืนจะนอนไม่หลับ แล้วคนโบราณเป็นคนนอนแต่หัวค่ำ ถ้านอนตอนเย็นแล้วตื่นแล้วนอนใหม่จะนอนหลับยาก เขาจึงออกกุศโลบายมาแบบนี้นั่นเอง” ที่มา (http://mblog.manager.co.th/bonkalasin/th-73543/)

รายละเอียดน้อยไปนิดนึง สรุปได้ว่าปวดหัวหลังตื่นนอนตอนเช้า อาการร่วมอย่างอื่นไม่มีเลยหรือคะ ประวัติการเจ็บป่วยอดีต หรือว่าโรคประจำตัวอื่น ที่ต้องกินยาเป็นประจำ ประวัติการได้รับอุบัติเหตุนะคะ งั้นก็คงบอกได้ในแบบกว้าง ๆ ค่ะ ลองค้นหาสาเหตุดูค่ะ

สาเหตุของการปวดศีรษะมีได้หลายประการ

1. มีความผิดปกติในเนื้อสมอง เช่น เนื้องอกในสมอง เส้นเลือดในสมองโป่งพอง

2. มีความผิดปกตินอกเนื้อสมอง เช่น โพรงจมูกอักเสบ, หูอักเสบ, สายตาผิดปกติ

3. มีความตึงเครียดทางอารมณ์

****การรักษานั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุของการปวด ต้องหาสาเหตุให้เจอ โดยการไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจยืนยันค่ะ

อาการปวดศีรษะที่พบบ่อยคือ

1. ปวดศีรษะไมเกรน (Headaches, Migrain)

2. ปวดศีรษะจากอารมณ์และความเครียด (Headeches, tension)

3. การปวดศีรษะรุนแรงแบบเกาะกลุ่ม (Headeches, cluster)

4. ปวดศีรษะจากความดันเลือดสูง

5. ปวดศีรษะเนื่องจากสายตาผิดปกติ

6. ปวดศีรษะเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น จากไข้หวัด โพรงจมูกอักเสบ เป็นฝีที่รากฟัน เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ สมองถูกกระทบกระเทือน…

(จากคุณ Morakot)

ก็ได้มาประมาณนี้  ขอบคุณ google และผู้ที่มอบข้อมูลดีๆ ตามที่ได้ลงชื่อไว้ท้ายบทความด้วยนะครับ

สนใจหนังสือเชิญที่ http://astore.amazon.com/tuktik-brainfood-20

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น